ระบบปฏิบัติการ
ทำความรู้จัก DOS และ Windows รุ่นต่าง ๆ ในเบื้องต้นกันก่อน
ขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ Windows ต่าง ๆ ที่มีใช้งานกันอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยจะเขียนเพื่อเป็นข้อมูลคร่าว ๆ สำหรับทำความรู้จักกับ Windows รุ่นต่าง ๆ ที่เรา ๆ ใช้งานกันอยู่ คงจะไม่มีรายละเอียดมากนัก ขอสรุปแบบคร่าว ๆ แค่พอมองภาพออกเท่านั้นนะครับ เพราะผมเองก็ไม่มีรายละเอียดของ Windows รุ่นต่าง ๆ มากนัก
DOS
สมัยแรกเริ่ม การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า DOS (Disk Operation System) ซึ่งการทำงานส่วนใหญ่ จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งทีละบรรทัดผ่านระบบ Commanf Line เช่นเมื่อต้องการ copy ไฟล์ ก็ต้องสั่งว่า copy file1.txt file2 txt เป็นต้น ในส่วนของการใช้งาน DOS จะมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนสุดท้ายที่เห็นคือ DOS Version 6.xx โดยที่ได้ทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการทำงานมาตลอดเวลา ในด้านการเพิ่มความสามารถต่าง ๆ เช่น การรองรับกับการจัดการหน่วยความจำที่มากขึ้น การรองรับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากขึ้น และอื่น ๆ
Windows98
Windows98 เป็นรุ่นต่อมาของ Windows ที่ออกมาให้ได้ใช้กัน มีการปรับปรุงหน้าตา และการทำงานให้สวยงาม และน่าใช้งานมากขึ้น โดยจะมีการนำเอาโปรแกรมเล่นอินเตอร์เน็ต IE4 (Internet Explorer 4.0) แถมมาให้ด้วย สามารถรองรับการทำงานของอุปกรณ์ใหม่ ๆ ของคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น แต่หลาย ๆ คนก็ยังบอกว่า มักจะมีปัญหาบ่อย ๆ ในการใช้งาน IE4 ที่มีแถมมาให้ใน Windows รุ่นนี้ โดยรวมก็เรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้งานมากทีเดียว ต่อมาก็มีการออก Windows 98 SE (Second Editor) โดยทำการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบใน Windows 98 รุ่นแรก ๆ (หลายคนบอกว่า ยิ่งเป็นปัญหามากกว่ารุ่นเก่าเสียอีก) และมีการแถม IE5.0 มาให้แทน IE4.0 ด้วย
Windows 2000
ในส่วนของระบบปฏิบัติการ อีกระบบหนึ่ง คือ Windows NT ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานกันในส่วนของ Server ก็มีการพัฒนากันไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่นานนี้ ก็มีการออก Windows 2000 ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็น Windows รุ่นใหม่ต่อจาก Windows 98 แต่ไม่ใช่นะครับ Windows 2000 เป็นรุ่นใหม่ของ Windows NT โดยที่ระบบการทำงานต่าง ๆ ก็จะเน้นไปทางด้านของ Server เหมือนเดิมครับ
Windows XP
ช่วงของการทดสอบคือ Windows eXperience เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ทั้งหมด รายละเอียดยังไม่ทราบอะไรมากนัก เพียงแต่ว่า ขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงของการทดสอบเป็น beta version อยู่ซึ่งคิดว่าอีกไม่นาน คงจะได้เห็นกันครับ
สำหรับใครที่อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ หาอ่านได้จากเว็บไซต์ของ http://www.microsoft.com กันเองนะครับ ในส่วนของผม คงจะขอแค่แนะนำคร่าว ๆ ให้พอรู้จักกันไว้บ้างเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการ Linux
ระบบปฏิบัติการ Linux คืออะไร
Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix
Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสนันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่
*เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี
*ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ
*สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวนการทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
*มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบและหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง
*มีความสามารถแบบ UNIX
* สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น
*ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS,Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V
*เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม
* Linux ออกเสียงได้หลายลักษณะ เช่น ลีนุกซ์, ไลนักซ์, ลีนิกซ์
ประวัติของ Linux
ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ
ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ
คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยเมื่อเขาเริ่มพัฒนาลีนุกซ์ไปช่วงหนึ่งแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่นๆมาช่วยทำการพัฒนาลีนุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เนต
ลีนุสจะเป็นคนรวบรวมโปรแกรมที่ผู้พัฒนาต่างๆได้ร่วมกันทำการพัฒนาขึ้นมาและแจกจ่ายให้ทดลองใช้เพื่อทดสอบหาข้อบกพร่อง ที่น่าสนใจก็คืองานต่างๆเหล่านี้ผู้คนทั้งหมดต่างก็ทำงานโดยไม่คิดค่าตอบแทน และทำงานผ่านอินเทอร์เนตทั้งหมด
ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดของระบบลีนุกซ์ที่ได้ประกาศออกมาคือเวอร์ชัน 2.0.13 ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันนี้ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรกเป็นเลขคู่เช่น 1.0.x,1.2.x เวอร์ชันเหล่านี้จะถือว่าเป็นเวอร์ชันที่เสถียรแล้วและมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเลขคี่เช่น 1.1.x, 1.3.x จะถือว่าเป็นเวอร์ชันทดสอบ ซึ่งในเวอร์ชันเหล่านี้จะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆลงไป และยังต้องทำการทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆอยู่
ระบบปฏิบัติการ Unix
เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการออกแบบพัฒนาเพื่อใช้งานกับระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายๆคน(Multiuser)และทำงานแบบโต้ตอบระหว่างระบบกับผู้ใช้อย่างทันอกทันใจ (interactive) นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานของระบบคอมพิวเตอร์ อีกด้วย
ปัจจุบันมีการนำเอาระบบปฏิบัติการมาใช้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. บริษัทที่ขอซื้อลิขสิทธิ์ตัวโปรแกรม (source code) เพื่อที่จะนำไปดัดแปลงให้กับเครื่องของตน
2. กลุ่มบริษัทที่พัฒนา Unix เอง โดยอาศัยตัวโปรแกรมจาก AT&T เรียก Unix นี้ว่า Unix look-alike
คำสั่งที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ UNIX
1. การใช้คำสั่งใน MS-DOS Prompt
เลือก Start button -> Program -> Accessories -> Command prompt/MS-DOS prompt
2.คำสั่งทดสอบการเชื่อมโยงกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ping maliwan.psu.ac.th
ping 192.168.100.4
3.คำสั่งที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการ UNIX
telnet maliwan.psu.ac.th
telnet 192.168.100.4
4.คำสั่งการคัดลอกไฟล์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ftp
5.คำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX
คำสั่งใช้ดูไฟล์ในระบบ : ls
ls แสดงชื่อไฟล์โดยแสดงเฉพาะชื่อไฟล์อย่างเดียว
ls –l แสดงชื่อไฟล์โดยให้มีรายละเอียดเพิ่มเติม
ls –la แสดงชื่อไฟล์ของระบบด้วย
คำสั่งดูผู้ใช้ระบบที่กำลังใช้งาน : who ถ้ามีมากกว่าหนึ่งหน้าจออาจใช้คำสั่ง who more
คำสั่งดูผู้ใช้ระบบที่กำลังใช้งาน (รายละเอียดมากขึ้น) : finger
คำสั่งขอความช่วยเหลือ : man
man finger
6.คำสั่งที่ใช้สื่อสารระหว่างบุคคลแบบออนไลน์
คำสั่ง write [ชื่อผู้ใช้]
write ppongpan
กดแป้น ctrl-Z หรือ ctrl-D เพื่อหยุดการพิมพ์ข้อความและส่งข้อความ
คำสั่ง talk [ชื่อผู้ใช้]
user1 : talk user2
user2 : talk user1
กดแป้น ctrl-Z เพื่อหยุดการสนทนา
7.คำสั่งที่ใช้ในการส่ง mail
คำสั่ง pine
- เลือก C - Compose message เพื่อเขียนข้อความ e-mail
ใส่ e-mail address ของผู้รับ, subject และข้อความ
กดแป้น ctrl-Z เพื่อส่ง e-mail
- เลือก L - Folder list เพื่อดู e-mail ใหม่
เลือก e-mail ที่ต้องการอ่าน
เลือก R-Reply เพื่อตอบรับข้อความ
เลือก F-Forward เพื่อส่ง e-mail ไปยังบุคคลอื่นต่อไป
8.คำสั่งที่ใช้ออกจากระบบ
คำสั่ง logout
Microsoft Windows Server 2003 Windows 2003 Server หรือ Windows NT 5.2 นั้นถูกสร้างขึ้นจาก Windows 2000+Windows XPโดยมุ่งหวังที่จะเข้าแทนที่ Windows 2000 นอกจากหน้าตาเหมือน Windows XP แล้วยังได้มีการเสริมในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยให้สูงขึ้นเพราะถูก สร้างขึ้นมาให้ใช้กับองค์กรโดยเฉพาะ การจัดการที่ทำได้ง่ายโดยผ่าน Browser IE และยังเพิ่มความเสถียรในเรื่องของการเข้ากันได้กับ Application Code ต่างๆได้อย่างหลากหลายมากขึ้น
Microsoft windows 2003 server
วินโดวส์เอ็นที (Windows NT) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายของไมโครซอฟต์ที่พัฒนามาจากแลนเมเนเจอร์ (Lan Manager) วินโดวส์เอ็นทีเวอร์ชั่น 3.5 เป็นเวอร์ชั่นแรกที่ไมโครซอฟต์นำวางตลาด หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเวอร์ชั่น 3.51 4.0 และ 2000 สำหรับเวอร์ชั่นปัจจุบันเรียกว่า วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003ในตอนต้นไมโครซอฟต์จะเน้นการพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องซีพี เช่น Dos วินโดวส์ 3.1 วินโดวส์ 95 วินโดวส์ 98 Me (Milennium Edition) และ xpซึ่งสามารถสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์จะเหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กดังนั้นไมโครซอฟต์จึงได้พัฒนาระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ออกมาซึ่งเวอร์ชั่นปัจจุบันก็คือวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์2003นั่นเองวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์2003ที่ไมโครซอฟต์นำออกวางตลาดประกอบด้วยอีดิชั่นต่างๆดังนี้Standard Edition เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กรองรับ 4-way SMP และ 4 GBRAMEnterprise Edition เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่รองรับ 8 -WaySMPและ32GBRAMDatacenterEditionเหมาะสำหรับ เซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงรองรับ 64-Way SP และ 64 GBRAMWeb Edition เหมาะสำหรับทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ รองรับ 2-waySMP และ 2-GBRAMบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ (File and Print Services) วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ใช้ระบบไฟล์ NTFS ซึ่งสามรถกู้คืนได้อัตโนมัติเมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือล้มเหลว
Windows Server 2003 นี้มีมากถึง 5 รุ่นด้วยกัน คือ
Windows Server 2003 Standard – เหมาะสำหรับทำ server ขนาดในบริษัทขนาดเล็ก
Microsoft Windows Small Business Server 2003 – เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง
Microsoft Windows Server 2003, Datacenter Edition – เหมาะสำหรับองค์กรที่มีข้อมูลมากมายที่ต้องจัดการ
Microsoft Windows Server 2003, Enterprise Edition – เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่
Microsoft Windows Server 2003, Web Edition – เหมาะสำหรับทำ Web server
VMWare คืออะไร?........
โปรแกรม VMWare เป็นโปรแกรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ขึ้นบนระบบปฏิบัติการเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่นในรูปที่ 2 เป็นรูปที่แสดงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงระบบปฏิบัติการ Windows XP อยู่เดิม แล้วทำการลงระบบปฏิบัติการ Windows NT ผ่านโปรแกรม VMWare อีกทีหนึ่ง ซึ่งเมื่อลงแล้ว ทั้งสองระบบสามารถทำงานพร้อมกันได้โดยแยกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด (เสมือนเป็นคนละเครื่อง) โดยคอมพิวเตอร์เสมือนที่สร้างขึ้นมานั้น จะมีสภาพแวดล้อมเหมือนกับคอมพิวเตอร์จริงๆ เครื่องหนึ่ง ซึ่งจะประกอบด้วย พื้นที่ดิสก์ที่ใช้ร่วมกับพื้นที่ดิสก์ของเครื่องนั้นๆ การ์ดแสดงผล การ์ดเน็ตเวิร์ก พื้นที่หน่วยความจำซึ่งจะแบ่งการทำงานมาจากหน่วยความจำของเครื่องนั้นๆ เช่นกัน ปัจจุบันโปรแกรม VMWare มีเวอร์ชันทั้งสำหรับการทำงานบน Windows และ Linux หากเครื่องท่านเป็น Windows ก็สามารถลองเวอร์ชันสำหรับ Windows ได้ โดยท่านสามารถเข้าไปโหลดโปรแกรมมาทดลองใช้งานได้ที่ URL http://www.vmware.com แล้วเลือกที่ download และทำการดาวน์โหลด VMWare Workstation ซึ่งจะมีเวลาให้ทดลองใช้งานอยู่ที่ 30 วัน คุณสมบัติขั้นต่ำของเครื่องคอมพิวเตอร์ - CPU ความเร็วไม่ต่ำกว่า 500 MHz - หน่วยความจำขั้นต่ำ 256 MB - การ์ดแสดงผลแบบ 16 บิต หรือ 32 บิต - พื้นที่ดิสก์ในการลงโปรแกรม 80 MB สำหรับเวอร์ชัน Linux และ 150 MB สำหรับ Windows - พื้นที่ดิสก์ขนาดไม่ต่ำกว่า 1 GB ต่อการลงระบบปฎิบัติการ 1 ระบบ สำหรับข้อจำกัดของการทำงานบน VMWare ก็คือ VMWare จะสร้างสภาพแวดล้อมของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งเป็นของตัวโปรแกรม VMWare เอง ดังนั้นการใช้ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์หลักและคอมพิวเตอร์เสมือนจะไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถที่จะติดตั้งไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์จริงๆ ให้กับคอมพิวเตอร์เสมือนที่ลงผ่านโปรแกรม VMWare ได้ ขอบอกไว้ก่อนนิดนึงสำหรับการใช้โปรแกรมนี้ว่า โปรแกรมจะแบ่งหน่วยความจำของเครื่องหลักไปใช้ด้วย หากหน่วยความจำของเครื่องมีขนาดไม่มากเพียงพอ ก็อาจทำให้เครื่องทำงานช้าลงมาก ดังนั้นหากมีหน่วยความจำเยอะหน่อย การทำงานของโปรแกรมนี้ก็จะดีขึ้นเยอะครับ... สุดท้ายนี้ก็อยากให้ทุกท่านได้ลองโหลดกันมาลองเล่นดู รับรองว่าทั้งมือใหม่มือเก่าจะทึ่งถึงความสามารถของโปรแกรมนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมอีกมากมายของโปแกรมนี้ สามารถอ่านได้ที่ http://www.vmware.com .../... หวังว่าท่านจะได้ไอเดียดีดีจากการใช้โปรแกรมนี้ไปไม่มากก็น้อย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น